ยื่นภาษี ยื่นภาษีออนไลน์ มาถึงแล้วกับการขอยืนภาษี ของ ปี 2563 ที่เปิดโอกาส และ ขยายเวลา ให้ประชาชนได้ลง ผ่าสนทาง ออนไลน์ หรือ ทางเว็บไวต์ ของ กรรมสรรพากร ได้จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564 โดยรายละเอียดจะเป็นอย่างไรบ้าง เรารวบรวม มาให้คุณอ่าน ไว้แล้วที่นี้
เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ ภาษี ว่าต้องยื่นแบบไหนกันบ้าง
“ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา” ต้องยื่นแบบไหน ?
สำหรับการ “ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา” มี 2 แบบ คือ
1) ภ.ง.ด.90 สำหรับผู้ที่ “มีรายได้นอกเหนือจากเงินเดือน” ที่ได้รับ เช่น ค้าขาย แบบ บุคคลธรรมดา หรือ เงินปันผล
2) ภ.ง.ด.91 สำหรับผู้ที่มีรายได้เป็น “เงินเดือน” โดยไม่มีรายได้เสริมจากแหล่งงาน หรือรายได้อื่น เช่น พนักงานบริษัทที่รับเงินค่าจ้างเพียงอย่างเดียว
ยื่นภาษีออนไลน์ ต้องใช้อะไรบ้าง ?
ยื่นภาษี ยื่นภาษีออนไลน์ ผ่านช่องทาง ออนไลน์ เว็บไซต์ ของ กรมสรรพากร ผู้ยื่นจะต้องกรอกข้อมูลต่างๆ ลงในระบบ โดยมีเอกสารหรือข้อมูลที่ต้องเตรียม ซึ่งยิ่งเตรียมพร้อมก่อนยื่นภาษีก็ยิ่งจะช่วยให้ยื่นภาษีได้รวดเร็ว และลดความผิดพลาดได้ด้วย โดยการยื่นภาษีออนไลน์จะต้องเตรียมเอกสารเบื้องต้น ดังนี้
– เอกสารแสดงรายได้ หนังสือรับรองเงินเดือน (50 ทวิ) จากนายจ้าง ที่ระบุว่าปีนั้นมีรายได้รวมเท่าไหร่ มีการหักชำระกองทุน หรือเงินทุนสำรองต่างๆ หรือไม่อย่างไร
– รายการลดหย่อนภาษีที่รวบรวมไว้ตลอดทั้งปี เช่น ค่าเลี้ยงดูบิดา-มารดา หรือบุตร
– เอกสารประกอบการลดหย่อนภาษีเพื่อนำมาใช้ในการกรอกแบบฟอร์มยื่นภาษี เช่น จำนวนเงินที่ซื้อกองทุน, เบี้ยประกันชีวิต, ประกันสุขภาพ, เอกสารช้อปดีมีคืน หรือค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าหรือบริการ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง: สรรพากรแนะบุคคลธรรมดายื่นชำระภาษีไม่เสียค่าปรับในเดือนนี้
ยื่นภาษีออนไลน์ ทำอย่างไร ?
การ “ยื่นภาษีออนไลน์” สำหรับผู้ที่ต้องการ “ยื่นภาษี63” ด้วยตัวเอง ให้สามารถทำตามขั้นตอนได้แบบไม่ยาก แม้จะเป็นมือใหม่ที่เพิ่งยื่นภาษีครั้งแรก
ขั้นตอนที่ 1 สมัครเข้าระบบยื่นภาษีในระบบ E-Filing เว็บไซต์ “กรมสรรพากร”
สำหรับผู้ที่ยื่นภาษีครั้งแรกจะต้องเลือก “สมัครสมาชิก” และดำเนินการตามขั้นตอนให้แล้วเสร็จก่อน จึงจะสามารถเข้าระบบการยื่นภาษีได้ ซึ่งเมื่อเข้าสู่ระบบ E-Filing ได้เรียบร้อยแล้วสามารถเริ่ม “ยื่นภาษี” เข้าสู่ขั้นตอนการยื่นแบบภาษีรวม 6 หน้า เรียงตามลำดับ
โดยผู้ยื่นภาษีจะต้องบันทึกข้อมูลเรียงตามลำดับแต่ละหน้า ไปจนถึงหน้ายืนยันการยื่นแบบ แต่สามารถย้อนกลับเพื่อแก้ไขข้อมูลในหน้าจอที่ผ่านมาแล้วได้ โดยไล่เรียงตามลำดับ ดังนี้
1. หน้าหลัก
2. เลือกเงินได้/ลดหย่อน
3. บันทึกเงินได้
4. บันทึกลดหย่อน
5. คำนวณภาษี
6. ยืนยันการยื่นแบบ
ขั้นตอนที่ 2 กรอกข้อมูลการยื่นภาษีใน หน้าหลัก โดยข้อมูลที่จะต้องกรอกมีดังนี้
– ผู้มีเงินได้
– สถานภาพผู้มีเงินได้
– สถานะการยื่นแบบ
– คู่สมรส
– ข้อมูลการมีเงินได้และสถานะการยื่นแบบฯ ของคู่สมรส
ขั้นตอนที่ 3 เลือกเงินได้ และค่าลดหย่อนต่างๆ
สำหรับหน้าเลือกเงินได้/ลดหย่อน ระบบจะแสดงข้อมูล เลือกรายการเงินได้ พึงประเมิน และ เลือกเงินได้ ได้รับยกเว้น/ค่าลดหย่อน โดยสำหรับใคร ที่ไม่แน่ใจ เรื่องเงื่อนไข ของค่าลดหย่อนต่างๆ สามารถคำอธิบายของรายการลดหย่อนภาษีได้ เมื่อกดสัญลักษณ์ “?” ท้ายรายการ
ขั้นตอนที่ 4 บันทึกเงินได้
– ระบบจะแสดงข้อมูล ตามที่เลือกไว้ในขั้นตอนที่ 2 ในกรณีที่ไม่เลือกก็จะไม่ปรากฏให้กรอกข้อมูล ทั้งนี้ สามารถย้อนกลับไป เพิ่ม/ลด ประเภทเงินได้ โดยเลือกที่ เลือกเงินได้/ลดหย่อน
– บันทึกจำนวนเงินได้ ในแต่ละประเภทเงินได้ ที่เลือกไว้ โดยระบบจะคำนวณอัตรา ร้อยละ ที่ใช้หักค่าใช้จ่าย ให้อัตโนมัติ แต่สามารถปลี่ยนเป็นเลือกหักค่าใช้จ่ายจริงได้
– บันทึกข้อมูลภาษีหัก ณ ที่จ่าย (กรณีไม่มี ให้ใส่ 0.00 และบันทึกเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้จ่ายเงินได้ (กรณีได้รับเงินได้จากผู้จ่ายหลายราย ให้บันทึกเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้จ่ายเงินได้ที่จ่ายเงินได้จำนวนมากที่สุด)
ขั้นตอนที่ 5 บันทึกลดหย่อน
ระบบจะแสดงข้อมูล “รายการลดหย่อนภาษี” และ “ยกเว้นภาษี” ตามที่เลือกไว้ในขั้นตอนที่ 2 ในกรณีที่ไม่เลือกก็จะไม่ปรากฎ สามารถย้อนกลับไป เพิ่ม/ลด รายการลดหย่อนและยกเว้นโดยเลือกที่เมนู “เลือกเงินได้/ลดหย่อน”
สามารถบันทึกจำนวนเงินที่ได้รับการลดหย่อนและ “ยกเว้นภาษี” ได้ไม่เกินเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ถ้าบันทึกจำนวนเงินเกินเกณฑ์จะขึ้นข้อความแจ้งเตือน
ขั้นตอนที่ 6 คำนวณภาษี
ขั้นตอนนี้ระบบจะทำการสรุปข้อมูลการ “คำนวณภาษี” และเงินได้ที่ได้รับยกเว้นสามารถบันทึกในส่วนการคำนวณภาษีได้ ดังนี้ (กรณีไม่มี ให้ใส่ 0.00)
– เงินบริจาคสนับสนุนการศึกษา/การกีฬา/สถานพยาบาล/อื่นๆ
– เงินบริจาค
– ภาษีเงินได้ที่ได้รับยกเว้นจากการซื้ออสังหาริมทรัพย์
ขั้นตอนที่ 7 ยืนยันการยื่นแบบ
– เมื่อมาถึงขั้นตอน ยืนยันการยื่นแบบ ระบบจะแสดงหน้าแบบแสดงรายการภาษี “ภ.ง.ด.90” หรือ “ภ.ง.ด.91” (แล้วแต่กรณี) เพื่อให้ตรวจสอบข้อมูล ที่ได้บันทึก และ จำนวนภาษี ที่ชำระเพิ่มเติม หรือจำนวนภาษี ที่ชำระไว้เกิน
กรณีไม่มีภาษี ชำระเพิ่มเติม และ ภาษี ที่ชำระไว้เกิน ระบบจะแสดงเป็น 0.00 บาท จากนั้น ให้กดเลือก “ยืนยันการยื่นแบบ” ก็จะถือว่าสิ้นสุด การบันทึก แบบแสดงราย การภาษี
ขั้นตอนที่ 8 ตรวจสอบข้อมูลในการยื่นแบบ
ในขั้นตอนสุดท้าย ผู้ยื่นแบบฯ จะต้องตรวจสอบ ข้อมูล ให้ถูกต้องครบถ้วน และ กดเลือก “ยืนยันการยื่นแบบ” เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการ “ยื่นภาษี 63”
ทั้งนี้ ในคำนวณภาษีตามขั้นตอนข้างต้นแล้ว พบว่าได้รับเงินคืนภาษี สามารถสอบถามรายละเอียดการขอรับเงินคืนภาษี จาก “กรมสรรพากร” หมายเลข 1161 หรือ คลิกที่นี่
ส่วนผู้ที่มีภาษี ที่ต้องชำระตั้งแต่ 3,000 บาท ขึ้นไป ขอผ่อนชำระภาษี ได้ 3 งวด และ ผู้เสียภาษี สามารถตรวจสอบ รายการค่าลดหย่อน ได้ด้วยตนเอง จากระบบ “My Tax Account” ได้ที่เว็บไซต์กรมสรรพากร